คู่มือการใช้งานเบื้องต้น แอพพลิเคชั่น ไอโม่ (Imou App)

Last updated: 16 ธ.ค. 2563  |  28302 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คู่มือการใช้งานเบื้องต้น แอพพลิเคชั่น ไอโม่ (Imou App)

 1 การเพิ่มอุปกรณ์

       บนอินเทอร์เฟซอุปกรณ์คุณสามารถดูและเพิ่มอุปกรณ์เช่น กล้องไอพี, อุปกรณ์บันทึกข้อมูล และ กริ่งประตูในแอพลิเคชั่นไอโม่

       - ก่อนเพิ่มอุปกรณ์ลงในแอพ Imou คุณสามารถตรวจสอบความเร็ว Wi-Fi ได้บนอินเทอร์เฟซ เลือกไปที่ Tool > Wi-Fi Detection Tool > Wi-Fi Detection รอประมาณ 1 นาทีจะแสดงรายละเอียดของ Wi-Fi ที่ทำการเชื่อมต่อ เมื่อเสร็จแล้วให้เลิอกไปที่ Complete
       - ในบทนี้จะพูดถึงการเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้งานครั้งแรกเป็นตัวอย่าง หากต้องการเพิ่มอุปกรณ์ที่ เริ่มต้นใช้งาน เพียงสแกนรหัส QR ของอุปกรณ์หรือป้อน SN ด้วยตัวเอง และป้อนรหัสผ่านอุปกรณ์สำหรับการตรวจสอบ
       -คำแนะนำบนหน้าจออาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่คุณเพิ่ม และอินเทอร์เฟซที่แท้จริงเป็นหลัก

1.1 การเพิ่มอุปกรณ์กล้อง ไอพี
       คุณสามารถเพิ่มกล้อง ไอพีเข้ากับแอพลิเคชั่น Imou ผ่านการเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือการเชื่อมต่อผ่านสายแลน ด้วยวิธีการต่อไปนี้
       ขั้นตอนที่ 1 ไปที่หน้าจอ Device กดแท็บ ซึ่งอยู่ด้านบนขวามือ เลือก Device adding (เพิ่มอุปกรณ์)

 สามารถสั่งให้เปิดไฟตอนเพิ่มอุปกรณ์ได้โดยกดปุ่ม จะอยู่ด้านบนขวาของ Device adding เมื่อทำการแอดอุปกรณ์แล้ว ไม่สามารถแอดกล้องได้ (มืด)

       ขั้นตอนที่ 2 ถ้าจะทำการเพิ่มอุปกรณ์ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
       - สแกนตรง คิวอาร์โค้ด ที่ติดอยู่ที่ตัวอุปกรณ์โดยท าการสแกนภาพ หมายเลขอุปกรณ์จะปรากฏขึ้นมาที่หน้าจอ
       - กดแถบ Serial number adding เพื่อการการใส่หมายเลขอุปกรณ์แล้วกดปุ่ม Next และทำการเลือกรุ่นของอุปกรณ์ที่คุณได้ทำการเลือก

       ขั้นตอนที่ 3 ตั้งค่าการเชื่อมต่อเครือข่ายเน็ตเวิร์ค
       ต้องแน่ใจว่า สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อนั้นเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์ หรือ แอคเซสพอยด์ตัวเดียวกับอุปกรณ์
       - ตั้งค่าอุปกรณ์ผ่าน Wi-Fi
 ให้ทำการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi และใส่รหัสผ่านของ Wi-Fi และกดเลือก Next ตามรูป 1.1

       ก่อนที่จะใส่รหัสผ่าน Wi-Fi คุณสามารถทำการตรวจสอบความเร็วของ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อ โดยเลือกที่ Tap to test speed ตรงอินเทอร์เฟสด้านล่าง แล้วรอประมาณ 60 วินาทีหรือจนกวว่าแอพ จะแสดงสถานะความเร็วของเน็ต เมื่อทดสอบเสร็จแล้วนั้น ให้ทำการกด แถบที่เขียนว่า Complete เพื่อออก

       - ให้รอจนกว่าไฟที่อุปกรณ์เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว และกระพริบ แบบช้าๆ ติ๊กเลือก The green light is flashing slowly แล้วกดปุ่ม Next จะแสดงตามหน้าจอ Connect the device ตามรูปที่ 1.2
       - หลังจากที่ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์สำเร็จแล้ว รหัสผ่านของตัวอุปกรณ์จะแสดงตามรูปที่ 1.3

รูปที่ 1.2 ยืนยันว่าแสงไฟสีเขียวกระพริบช้า

รูปที่ 1.3 ตั้งค่ารหัสผ่านอุปกรณ์

       ใส่รหัสผ่านของอุปกรณ์และกดปุ่ม Next ระบบจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการเพิ่มอุปกรณ์ไปที่บัญชีของ IMOU ถ้าทำการเพิ่มอุปกรณ์สำเร็จ จะปรากฏหน้าต่าง ตามรูปที่ 1.4
       - คุณสามารถตั้งชื่อ อุปกรณ์ของคุณ หรือ ทำการตั้งเวลาตามพื้นที่ ที่คุณทำการติดตั้งในอุปกรณ์ โดยเลือกไปที่ ประเทศไทย หรือเลือกแถบ DST เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว กดปุ่ม Complete อุปกรณ์จะแสดงรายละเอียดตามรูปที่ 1.5

       เขตเวลาและเวลาที่คุณตั้งไว้อาจส่งผลต่อการใช้งานฟังก์ชั่นของแอพลิเคชั่น Imou ควรตั้งค่าให้ถูกต้อง

รูปที่ 1.4 เชื่อมต่ออุปกรณ์สำเร็จ

รูปที่ 1.5 อินเทอร์เฟสอุปกรณ์

       ตั้งค่าอุปกรณ์ผ่านการใช้สายแลน
       ใช้สายแลนเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์และเราเตอร์ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนของคุณกับเราเตอร์เดียวกัน แบบเดียวกับการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi

       - ไปที่ Device adding ตรงแถบด้านบนขวามือ ให้กดเลือก Switch to wired add ตามรูปที่ 1.6
       - กดปุ่ม Confirm to connect to the same network เพื่อยืนยันว่าได้ทำการต่ออุปกรณ์นั้นอยู่ในโครงข่ายเดียวกัน แล้วกดปุ่ม Next
       - รอจนกว่าอุปกรณ์นั้นจะทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์สำเร็จ โดยต้องใส่รหัสผ่านให้อุปกรณ์แล้วกดปุ่ม Next ตามรูปที่ 1.7

รูปที่ 1.6 การเชื่อมต่อแบบผ่านสายแลน

รูปที่ 1.7 ตั้งรหัสผ่านให้ตัวอุปกรณ์

       - ให้รอจนกว่าอุปกรณ์จะถูกนำเข้ามาที่แอพ หลังจากอุปกรณ์นั้นเข้ามาในแอพลิเคชั่น จะปรากฏตามรูปที่ 1.8
       - คุณสามารถตั้งชื่อ อุปกรณ์ของคุณ หรือ ทำการตั้งเวลาตามพื้นที่ ที่คุณทำการติดตั้งในอุปกรณ์ โดยเลือกไปที่ ประเทศไทยหรือเลือกแถบ DST เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว กดปุ่ม Complete อุปกรณ์จะแสดงรายละเอียด ตามรูปที่ 1.9

รูปที่ 1.8 เชื่อมต่ออุปกรณ์สำเร็จ

รูปที่ 1.9 อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ

       1.2 เพิ่มอุปกรณ์กระดิ่งประตู
       คุณสามารถนำเข้าอุปกรณ์กระดิ่งประตูได้ที่แอพลิเคชั่น Imou
       ขั้นตอนที่ 1 ไปที่หน้าจอ Device กดแท็บ + ซึ่งอยู่ด้านบนขวามือ เลือก Device adding (เพิ่มอุปกรณ์)

 สามารถสั่งให้เปิดไฟตอนเพิ่มอุปกรณ์ได้โดยกดปุ่ม จะอยู่ด้านบนขวาของ Device adding เมื่อทำการแอดอุปกรณ์แล้ว ไม่สามารถแอดกล้องได้ (มืด)

       ขั้นตอนที่ 2 ถ้าจะทำการเพิ่มอุปกรณ์ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
       - สแกนตรง คิวอาร์โค้ด ที่ติดอยู่ที่ตัวอุปกรณ์โดยท าการสแกนภาพหมายเลขอุปกรณ์จะปรากฏขึ้นมาที่หน้าจอ
       - กดแถบ Serial number adding เพื่อการการใส่หมายเลขอุปกรณ์แล้ว กดปุ่ม Next และทำการเลือกรุ่นของอุปกรณ์ที่คุณได้ทำการเลือก
       ขั้นตอนที่ 3 เชื่อมต่ออุปกรณ์ตามคำแนะนำ ดังภาพที่ 1.10

รูปที่ 1.10 สั่งให้เปิดสัญญาณเชื่อมต่อฮอตสปอต

       - พลิกไปที่ด้านหลังของอุปกรณ์กระดิ่งประตูแล้วกดปุ่ม รีเซ็ต ตามภาพที่อยู่ด้านบน แล้วไปดูด้านหน้าของอุปกรณ์กระดิ่งประตูว่าไฟแอลอีดีนั้นติดหรือไม่ เมื่อติดแล้ว ให้ไปกดที่แถบที่เขียนว่า Next สามารถดูได้ตาม รูปที่ 1.11

รูปที่ 1.11 เชื่อมต่อผ่านฮอตสปอต

       - ให้เลือกที่แถบที่เขียนว่า Go to connect ตรงด้านล่างของแอพลิเคชั่น เพื่อใส่รหัส Wi-Fi โดยตัวกระดิ่งประตูกับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ต้องเป็น Wi-Fi ตัวเดียวกันกับโทรศัพท์
       - ให้ทำการตั้งค่า Wi-Fi กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และเลือกไปที่อุปกรณ์ที่ เขียนว่า "Doorbell-xxxx"
       - หลังจากนั้นย้อนกลับไปที่ แอพลิเคชั่น Imou แล้วเลื่อนไปที่ แถบ Next การตั้งค่ารหัสผ่านของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อนั้น สามารถดูได้จากรูปที่ 1.12

รูปที่ 1.12 ตั้งรหัสผ่านอุปกรณ์

 

       ขั้นตอนที่ 4 ใส่รหัสผ่านให้กับอุปกรณ์ แล้วเลื่อนไปเลือกแถบที่ Next
       ก่อนที่คุณจะทำการเชื่อมต่อ ฮอตสปอต ต้องแน่ใจว่าสมาร์ทโฟนนั้นเชื่อมต่อเน็ตเวิร์คเดียวกับฮอตสปอตกระดิ่งประตู

       ขั้นตอนที่ 5 เลือกฮอตสปอตที่อยู่ในรายการ ใส่รหัสผ่านของ Wi-Fi แล้วกดปุ่ม Next เพื่อไปยังหน้าต่างถัดไป
       ต้องแน่ใจว่าสมาร์ทโฟนของคุณ และกระดิ่งประตูนั้นเชื่อมต่อกับแอคเซสพ้อยต์ตัวเดียวกัน

       ขั้นตอนที่ 6 กระดิ่งประตูนั้นจะเริ่มท าการเชื่อมต่อกับฮอตสปอต Wi-Fi ที่คุณเลือก เมื่อสำเร็จหน้าจออินเทอร์เฟสด้านล่างจะปรากฏขึ้นมา ตามรูปที่ 1.13

       ขั้นตอนที่ 7 คุณสามารถตั้งชื่อ อุปกรณ์ของคุณ หรือ ทำการตั้งเวลาตามพื้นที่ ที่คุณทำการติดตั้งในอุปกรณ์ โดยเลือกไปที่ ประเทศไทย หรือเลือกแถบ DST เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว กดปุ่ม Complete อุปกรณ์จะแสดง รายละเอียดตามรูปที่ 1.14

รูปที่ 1.13 เชื่อมต่ออุปกรณ์สำเร็จ

รูปที่ 1.14 อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ

       1.3 การเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึก
       - คุณสามารถท าการเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกได้เช่น เครื่องบันทึก หรือเครื่องบันทึกผ่านเน็ตเวิร์ค ผ่านแอพลิเคชั่น IMOU
       - โดยบทเรียนนนี้จะเพิ่มเครื่องบันทึกผ่านเน็ตเวิร์คเป็นตัวอย่าง
       - ก่อนที่จะทำการเพิ่มอุปกรณ์ลงไปนั้น ต้องแน่ใจว่า อุปกรณ์เหล่านั้น ต้องออนไลน์ในแอพลิเคชั่น สำหรับอุปกรณ์ที่ไม่สามารถลงทะเบียนได้ให้อ้างอิงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยตัวเอง
       - อุปกรณ์บันทึกนั้นรองรับการเชื่อมต่อผ่านสายแลน โดยคุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์กับเราท์เตอร์ผ่านสายแลน

       ขั้นตอนที่ 1 ไปที่อินเทอร์เฟส Device กดแท็บ ซึ่งอยู่ด้านบนขวามือเลือก Device adding (เพิ่มอุปกรณ์)

 สามารถสั่งให้เปิดไฟตอนเพิ่มอุปกรณ์ได้โดยกดปุ่ม จะอยู่ด้านบนขวาของ Device adding เมื่อทำการแอดอุปกรณ์แล้ว ไม่สามารถแอดกล้องได้ (มืด)

       ขั้นตอนที่ 2 ถ้าจะทำการเพิ่มอุปกรณ์ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
       - สแกนตรง คิวอาร์โค้ด ที่ติดอยู่ที่ตัวอุปกรณ์โดยท าการสแกนภาพ หมายเลขอุปกรณ์จะปรากฏขึ้นมาที่หน้าจอ
       - กดแถบ Serial number adding เพื่อการการใส่หมายเลขอุปกรณ์แล้ว กดปุ่ม Next และท าการเลือกรุ่นของอุปกรณ์ที่คุณได้ทำการเลือก

       ขั้นตอนที่ 3 ใส่รหัสผ่านที่อุปกรณ์ตรง Device adding และกด Next ตาม รูปภาพที่ 1.15
       ขั้นตอนที่ 4 ระบบจะเริ่มทำการเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปที่บัญชีในแอพลิเคชั่น Imou หลังจากนำเข้าอุปกรณ์ได้สำเร็จนั้น จะขึ้นหน้าต่างอินเตอร์เฟส ตามรูปที่ 1.16

รูปที่ 1.15 ใส่รหัสผ่านที่อุปกรณ์

รูปที่ 1.16 ใส่รหัสผ่านที่อุปกรณ์

     ขั้นตอนที่ 5 คุณสามารถตั้งชื่อ อุปกรณ์ของคุณ หรือ ทำการตั้งเวลาตามพื้นที่ ที่คุณทำการติดตั้งในอุปกรณ์โดยเลือกไปที่ ประเทศไทยหรือเลือกแถบ DST เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว กดปุ่ม Complete จะได้ผลดังรูปที่ 1.17

       เขตเวลาและเวลาที่คุณตั้งไว้อาจส่งผลต่อการใช้งานฟังก์ชั่นของแอพลิเคชั่น Imou ควรตั้งค่าให้ถูกต้อง

รูปที่ 1.17 หน้าการเชื่อมต่ออุปกรณ์

       ขั้นตอนที่ 6 เมื่อทำการเพิ่มอุปกรณ์เครื่องบันทึกลงไป คุณสามารถกดปุ่ม เพื่อเข้าไปดูวิดีโอสด และกดปุ่ม เพื่อดูวิดีโอสด สี่หน้าจอ โดยสามารถดูภาพแบบหมวด 2×2 (สี่กล้องแรกของอุปกรณ์ในเครื่องบันทึก)

2. การดูภาพสด

       ภาพสดเป็นการแสดงวิดีโอแบบเรียลไทม์แก่คุณ โดยมี 2 โหมด คือโหมดการแสดงผลปกติ (ดังรูปภาพที่ 2.1) และโหมดการแสดงผลแนวนอน (ดังรูปภาพที่ 2.2) คุณสามารถดำเนินการต่างๆ เช่น หยุดชั่วคราว, แยกหน้าต่าง, สลับคุณภาพสตรีมและปิดเสียง รวมทั้งสามารถทำการขยายภาพที่หน้าจอ เพื่อดูรายละเอียดภาพ

       หากไม่ได้เปิดใช้งานฟังก์ชั่น PTZ จะทำการขยาย หรือซูมด้วยการซูมแบบดิจิตอล
       - หากเปิดใช้งานฟังก์ชั่น PTZ จะทำการซูมในรูปแบบผ่านการขยายด้วยเลนส์ (สำหรับ
อุปกรณ์ที่รองรับการซูมด้วยเลนส์)

รูปที่ 2.1 หมวดการแสดงภาพปกติ

รูปที่ 2.2 หมวดการแสดงภาพแนวนอน

 ตาราง 2.1 แสดงรายละเอียดของฟังก์ชั่น

ไอคอนรายละเอียด
เล่น หรือ หยุดชั่วขณะ
สลับหน้าจอที่ดูภาพ แบบภาพ 1 กล้อง หรือ ดูแบบ 4 กล้อง
ใช้สำหรับเลือกความคมชัดปกติ (SD) และความคมชัดสูง (HD)
เปิด หรือ ปิดเสียงในวิดีโอ
แสดงวิดิโอแบบ แนวนอน และกด  เพื่อออกจากการดูภาพในแนวนอน
ในรูปแบบการแสดงภาพในแนวนอน ปุ่ม  จะล็อคหน้าจอ หากสลับหน้าจออัตโนมัติจากมองแบบปกติไอคอนจะถูกสลับเป็น 
สั่งให้บันทึกวิดีโอ
สั่งให้ถ่ายรูป
สั่งเปิดเพื่อให้สามารถคุยโต้ตอบ โดยไอคอนจะสลับเป็น  ในหน้าจอแนวตั้ง และไฟนี้จะติด  เมื่อตั้งค่าให้แสดงภาพในแนวนอน และเมื่อกดอีกครั้งจะปิดการทำงานการคุยโต้ตอบ
 ไอคอนนี้เป็นการสั่งกล้องให้ทำการบันทึกวิดีโอ โดยไอคอนจะเปลี่ยนเป็น  เมื่อสั่งให้บันทึกวิดีโอในแนวตั้ง และขึ้นไอคอน  เมื่อสั่งให้บันทึกภาพในแนวนอน
 

แผงนี้เป็นฟังก์ชั่นในการสั่งงานกล้อง PTZ โดยคุณสามารถสั่งกล้องให้เคลื่อนที่ทิศทางแนวตั้ง และ แนวนอน เพื่อดูมุนมองวิดีโอ ในมุมต่างๆ

 ฟังก์ชั่นนี้จะรองรับกับกล้องที่เป็นกล้องแบบ PTZ เท่านั้น

3 ดูย้อนหลังและบันทึกวิดีโอ

       3.1 ดูวิดีโอย้อนหลัง
       คุณสามารถดูไฟล์วิดีโอที่บันทึกไว้ย้อนหลังได้โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
       - ในส่วนการเชื่อมต่อ Device ปุ่ม ... ของอุปกรณ์ที่ต้องการจะดูโดยที่แถบ Alarm Record เพื่อเลือกไฟล์วิดีโอ เพื่อบันทึกผ่านคลาวด์เซิร์ฟเวอร์หรือในเอสดีการ์ด
       - ในการดูภาพสด Live view
 ในมุมมองภาพปกติ (แนวตั้ง) กดไปที่แถบ View record history
 ถ้าต้องการให้แสดงภาพแนวนอน ให้กดที่ ในการดูภาพ ย้อนหลัง (Record history) จะแสดงตามภาพที่ 3.1 (มุมมองภาพปกติ) และภาพที่ 3.2 (มุมมองภาพในแนวนอน)

รูปที่ 3.1 มุมมองภาพปกติ

 

รูปที่ 3.2 มุมมองภาพย้อนหลัง

ตาราง 3.1 Record history interface

ไอคอนฟังชัน
เล่น หรือ หยุดชั่วขณะ
เปิด หรือ ปิดเสียงในวิดีโอ
ให้แสดงภาพในแนวนอน และกดปุ่ม เพื่อให้กลับไปแสดงภาพมุมมองปกติ
ไอคอนสั่งถ่ายภาพนิ่ง
แถบไอคอนสั่งให้ท าการบันทึกไฟล์วิดีโอ โดยไอคอนจะเปลี่ยนเป็น เมื่อสั่งให้ทำการบันทึกในแนวตั้ง และจะเปลี่ยน เมื่อสั่งให้ทำการบันทึกภาพในแนวนอน
กดแถบนี้เพื่อออกจากการดูวิดีโอย้อนหลัง เพื่อกลับไปดูวิดีอไฟล์ภาพสดในขณะนั้น

ในมุมมองภาพในแนวตั้ง แถบไอคอนจะแสดงว่าได้ทำการบันทึกวิดีโอไฟล์นั้นถูกเก็บไว้ ที่คลาวด์เซิร์ฟเวอร์โดยไอคอนนนี้ถ้าขึ้นเป็น คือได้เปิดใช้งานแล้ว

คุณสามารถไปที่ แถบไอคอน เพื่อท าการสั่งซื้อการบันทึกผ่านคลาวด์และเปิดใช้งาน

ในการแสดงภาพปกตินั้น ถ้าเราต้องการให้ทำการบันทึกผ่านเอสดีการ์ด โดยจะสังเกต จากไอคอนว่าถ้าเปิดใช้งาน จะแสดง ไอคอน เพื่อแสดงว่าได้เลือกให้บันทึกผ่าน เอสดีการ์ดแล้ว
การสั่งดูภาพแนวนอน โดยสามารถเลือกเพื่อสลับการบันทึกวิดีโอได้ โดยสามารถสั่งให้เลือกบันทึกผ่านคลาวด์ หรือให้บันทึกผ่านเอสดีการ์ด
 แถบไอคอนนี้เพื่อดูวิดีโอทั้งหมดนี้ ว่าถูกบันทึกผ่านคลาวด์เซอร์เวอร์ หรือที่ไมโครเอสดีการ์ด
 สั่งให้แสดงภาพในแนวนอน โดยติ๊กให้เป็น ถ้าต้องการล็อคหน้าจอให้แสดงหน้าจอเฉพาะแนวตั้ง ให้กดจนตัวไอคอนขึ้นเป็นแบบนี้ 
 

ทำการเลือกวันที่ และเวลาที่ต้องการจะดูไฟล์วิดีโอย้อนหลัง

ฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้งานได้เมื่อสั่งให้แสดงหน้าจอปกติ (แนวตั้ง)

 

แถบเวลานั้นเราสามารถหยุดดู หรือเราสามารถที่จะเลื่อนไปดูที่โดยคลิกแล้วเลื่อนไปเวลาที่เราต้องการจะดูย้อนหลังได้

แถบสีส้มในคาบเวลาเป็นการสั่งบันทึกในกรณีที่สั่งแจ้งเตือนในเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนสีน้ำเงินนั้นคือการสั่งให้กล้องบันทึกปกติ

       3.2 ประเภทการบันทึก และการตั้งตารางบันทึก
       คุณสามารถสั่งให้ทำการบันทึกวิดีโอได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
       - บันทึกเฉพาะตอนเกิดเหตุการณ์(Alarm event record)
       ขั้นตอนที่ 1 ไปที่แท็บ My Device ตรง Me เลือกตรงอุปกรณ์ที่ต้องการจะตั้งค่า
       ขั้นตอนที่ 2 ไปที่แท็บที่เขียนว่า Arm Setting ตามรูปที่ 3.3

รูปที่ 3.3 ตั้งการบันทึก เมื่อเกิดเหตุการณ์

       ขั้นตอนที่ 3 เปิดฟังชัน Motion Detection เมื่อมีการเคลื่อนไหวในภาพระบบ
จะบันทึกวิดีโอ

       ขั้นตอนที่ 4 สามารถตั้งค่าให้บันทึกตามตารางที่ตั้งค่าไว้เช่น ให้บันทึกเมื่อมี
การเคลื่อนไหวเฉพาะบางวันได้ โดยไปที่ Arm Schedule Setting หลังจากเข้ามาที่หน้าอินเทอเฟส เราสามารถระบุเฉพาะวัน หรือ เลือกไปที่ เพื่อระบุวันที่ต้องการบันทึก ตามรูป 3.4 และรูป 3.5

รูปที่ 3.4 ตั้งคาบเวลา

รูปที่ 3.5 ตั้งช่วงเวลา

       - บันทึกข้อมูลตลอดเวลา
       ขั้นตอนที่ 1 ไปที่แท็บ My Device ตรง Me เลือกตรงอุปกรณ์ที่ต้องการจะตั้งค่า
       ขั้นตอนที่ 2 ไปที่แท็บที่เขียนว่า Local Storage Setting ตามรูปที่ 3.6

รูปที่ 3.6 ตั้งค่าให้บันทึกทุกอย่าง

       ขั้นตอนที่ 3 ไปตรงแถบ Record เพื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่น และเมนูย่อยนี้ให้ไป
ปิดตรงที่ General Record Storage ด้วยเพื่อให้อุปกรณ์ดังกล่าวทำการบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

       - การสั่งเปิดตรง General Record Storage ต้องเปิดใช้งานระบบ โดยเข้าไปที่เมนู local  storage เพื่อสั่งเปิด
       - และสามารถตั้งการบันทึกทุกอย่างแบบระบุช่วงได้ โดยไปที่เมนู Recording Schedule โดยรายละเอียดนั้นสามารถย้อนกลับไปดูในหัวข้อก่อนหน้า บันทึกเฉพาะมีเหตุการณ์ (Alarm event record)

4 จัดการอุปกรณ์

       คุณสามารถจัดการการเพิ่มอุปกรณ์เช่น กล้อง ไอพีอุปกรณ์แจ้งเตือนกระดิ่งประตูหรือเครื่องบันทึก การตั้งค่าจะถูกอธิบายในบทนี้ โดยการตั้งค่านั้นจะอยู่ ในหมวดตั้งค่าที่ Device Details ท่านสามารถที่จะทำการเชื่อมต่อ โดยวิธีดังต่อไปนี้

       - ตรงการเชื่อมต่อ Device ให้เลือกไปที่อุปกรณ์ ที่แถบ แล้วเลื่อนลงไปที่แถบ Device Details และเข้าไปต่อไปที่ Device Details
       - ตรงส่วน Me แล้วเลื่อนไปที่ My Device แล้วเลือกรายชื่ออุปกรณ์ โดยเข้าไป
ที่ หน้าต่าง Device Details
       - เข้าไปที่ ดูภาพสด (live view) ของตัวอุปกรณ์ แล้วเลือกไปที่ ซึ่งอยู่ด้านบนขวามือ แล้วไปที่ Device Details interface

 ส่วน Device Details แสดงรายละเอียดฟังก์ชันของอุปกรณ์ที่คุณสามารถกำ หนดค่า บนแอพลิเคชัน Imou อินเทอร์เฟซอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่คุณเพิ่มและอินเทอร์เฟซที่แท้จริงเป็นหลัก หากฟังก์ชั่นไม่ได้ระบุไว้ในอินเทอร์เฟซนั้นหมายความว่า อุปกรณ์ไม่รองรับฟังก์ชั่นดังกล่าว

รูปที่ 4.1 รายละเอียดอุปกรณ์

ตาราง 4.1 รายละเอียดหน้าการจัดการอุปกรณ์

พารามิเตอร์
ฟังชัน ใช้งาน
Device name
(ชื่ออุปกรณ์)
อ้างอิงจาก "4.1 ตั้งชื่ออุปกรณ์และภาพหน้าปก" และ "4.2 เปลี่ยนรหัสผ่านของอุปกรณ์"
Device Firmware
Version
(เวอร์ชั่น เฟิร์มแวร์)
เฟิร์มแวร์ปัจจุบันของอุปกรณ์
Alarm Setting (ตั้ง
ค่าการแจ้งเตือน)
Notifications (แจ้งเตือน) อ้างอิงจาก “5.1.2 การแจ้งเตือนของอุปกรณ์
Arm setting (ตั้งการแจ้งเตือน) :
       - สำหรับ Motion Detection, Smart Tracking, Detection Sensitivity, และ Detection Region Setting, อ้างอิงไปที่ "5.2 Arm setting"
       - สำหรับ Arm Schedule Setting, อ้างอิงไปที่“3.2 ประเภทการบันทึก และการตั้งตารางบันทึก” Smart Tour อ้างอิงไปที่ "5.3 Smart Tour"
Storage Setting
(ตั้งค่าการจัดเก็บ
ข้อมูล)
คุณสามารถจัดการซื้อบริการบันทึกผ่านคลาวด์ ดูได้จากที่เก็บบันทึกว่าปิดหรือเปิดบันทึกที่อุปกรณ์ โดยสั่งเก็บข้อมูลทั้งหมด เลือกประเภทการบันทึก และกำหนดตารางการบันทึกสำหรับเก็บบันทึกทั้งหมด
Device Setting
(ตั้งค่าอุปกรณ์)

Camera Shielding (ปิดเลนส์) : เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นนี้เลนส์ของอุปกรณ์ที่เลือกจะถูกปกปิดและไม่สามารถใช้มุมมองสดได้ในเวลานี้เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ

 คุณยังสามารถเปิดใช้งานการป้องกันกล้องได้ โดยแตะที่ไอคอนการป้องกันกล้องบน Device อินเตอร์เฟซของอุปกรณ์ที่คุณต้องการ

Device Audio Collection : คุณสามารถเปิดหรือปิดฟังก์ชั่นนี้
Customized Encryption : อ้างอิงจาก "4.3 Customized Encryption”
Device Share : อ้างอิงไปยัง "4.6 แชร์อุปกรณ์"
Network Config : อ้างอิงไปยัง "4.4 เปลี่ยน Wi-Fi"

More (อื่น)Time Zone : คุณสามารถทำการตั้งค่าเขตเวลา หรือเวลาสากลให้กับตัวอุปกรณ์
       - Device Indicator : ปิด และเปิดตัวบ่งชี้
       - Camera Image Flip : ในกรณีติดกับเพดาน คุณต้องสั่งใช้งานในฟังชั้นนี้ เพื่อทำการกลับภาพลง
Delete (ลบ)ทำการลบตัวอุปกรณ์ออกจากบัญชีของ Imou
Protection Setup
(ตั้งค่าการป้องกัน)
คุณสามารถสั่งเปิด Protection Setup เป็นฟังก์ชั่นเพื่อตั้งตารางการร้องเตือน กับตัวกล้องไอพี
 ฟังก์ชั่นนี้มีให้ในอุปกรณ์เตือนภัยเช่นเครื่องตรวจจับ PIR ไร้สาย
Link Camera
(เชื่อมโยงกับกล้อง)
คุณสามารถเพิ่มกล้อง IP เพื่อสร้างการเชื่อมโยงสัญญาณเตือนด้วยอุปกรณ์เตือนภัยเช่น เครื่องตรวจจับ PIR ไร้สาย
 ฟังก์ชั่นนี้มีให้ในอุปกรณ์เตือนภัยเช่นเครื่องตรวจจับ PIR ไร้สาย
Link Chime (ตั้ง
ความสัมพันธ์)
คุณสามารถเพิ่มเสียงระฆังและตั้งค่าเสียงเรียกเข้าของเสียงระฆังที่เชื่อมโยง เสียงระฆังที่เชื่อมโยงจะแสดงบนส่วนต่อประสานการเชื่อมโยง หนึ่งออดสามารถเชื่อมโยงหลายระฆัง
 ฟังก์ชั่นนี้มีให้ในอุปกรณ์กระดิ่งประตู
PIR Region
Setting
คุณสามารถกำหนดขอบเขตในการตรวจจับ เมื่อมีการเคลื่อนไหวในบริเวณที่กำหนด สัญญาณเตือนภัยจะดังขึ้น
 ฟังก์ชั่นนี้มีให้ในอุปกรณ์กระดิ่งประตู
Human Shape
Detection
ตรวจจับการเคลื่อนไหวเฉพาะบุคคล
 ฟังก์ชั่นนี้มีให้ในอุปกรณ์กล้องไอพี

 4.1 Setting Device Name and Cover Image
       ขั้นตอนที่ 1 หน้าแสดงอุปกรณ์ให้แตะที่ จากนั้นแตะที่ Device Details จะแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์
       ขั้นตอนที่ 2 ให้แตะที่ ชื่ออุปกรณ์จะแสดงการตั้งค่าอุปกรณ์
       ขั้นตอนที่ 3 คุณสามารถตั้งชื่อกล้อง เปลี่ยนรูปภาพที่แสดง และสามารถดูรุ่นกล้อง หมายเลขซีเรียล ตามรูปภาพที่ 4.2

รูปที่ 4.2 Device information

4.2 เปลี่ยนรหัสผ่านของอุปกรณ์
       ขั้นตอนที่ 1 หน้าแสดงอุปกรณ์เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการจะเปลี่ยนรหัสผ่าน จากนั้นแตะที่ ...  และแตะที่ Device Details จะแสดงรายละเอียดอุปกรณ์
       ขั้นตอนที่ 2 ให้แตะที่ ชื่ออุปกรณ์และแตะที่ Device Password จะแสดงหน้าให้ใส่รหัสผ่าน
       ขั้นตอนที่ 3 ใส่รหัสผ่านปัจจุบัน จากนั้นใส่รหัสผ่านที่ต้องการจะเปลี่ยน 2
บรรทัด แล้วให้แตะที่

4.3 Customized Encryption
       เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชันนี้คุณสามารถตั้งค่ารหัสผ่านส าหรับการดูภาพหรือบันทึกภาพ เมื่อเปิดแอพพลิเคชัน Imou ขึ้นมา คุณต้องใส่รหัสผ่านที่กำหนดขึ้นใน Customized Encryption เพื่อที่จะดูภาพจากอุปกรณ์ตัวนี้
       ขั้นตอนที่ 1 หน้าแสดงอุปกรณ์ให้แตะที่ และแตะที่ Device Details
       ขั้นตอนที่ 2 แตะที่ Customized Encryption และทำการ เปิดใช้งาน จากนั้นใส่รหัสผ่านและแตะที่

4.4 เปลี่ยน Wi-Fi
       ขั้นตอนที่ 1 หน้าแสดงอุปกรณ์ให้แตะที่ และแตะที่ Device Details
       ขั้นตอนที่ 2 แตะที่ Network Config และเลือก Wi-Fi ที่ต้องการ
       ขั้นตอนที่ 3 ใส่รหัสผ่านของ Wi-Fi และแตะที่ Connect จากนั้นรอการเชื่อมเสร็จสมบูรณ์

4.6 แชร์อุปกรณ์
       คุณสามารถแชร์อุปกรณ์ในแอพพลิเคชัน Imou เพื่อให้คนอื่นดูได้
       ขั้นตอนที่ 1 หน้าแสดงอุปกรณ์ให้แตะที่ ... และแตะที่ Device Details
       ขั้นตอนที่ 2 แตะที่ Device Share แล้วแตะที่ Add User to Share หรือ +
       ขั้นตอนที่ 3 ใส่บัญชีImou ที่ต้องการจะแชร์แล้วกดที่ Next

5 ตั้งค่าอลาร์ม

5.1 ตั้งค่าการแจ้งเตือน
       5.1.1 การแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชัน
       คุณสามารถตั้งค่าว่าจะรับการแจ้งเตือนจากแอพด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ต่อไปนี้
       - หน้าแสดงอุปกรณ์ให้แตะที่ เพื่อปิดการแจ้งเตือนอลาร์มทั้งหมด ในโทรศัพท์มือถือของคุณและแตะที่ไอคอน อีกครั้งเพื่อเปิดการ แจ้งเตือนอลาร์ม
       - หน้าแสดงบัญชีของฉัน ให้แตะที่ Settings แล้วให้ทำการเปิด Prompt โดยการเปิดฟังก์ชัน Prompt คุณสามารถกำหนดตาราง การทำงานการแจ้งเตือนได้ โดยแตะที่ Period

        5.1.2 การแจ้งเตือนของอุปกรณ์
       คุณสามารถเปิดใช้งานและปิดใช้งานการแจ้งเตือนได้ที่แอพ Imou
       ขั้นตอนที่ 1 แตะที่ ที่หน้าแสดงอุปกรณ์แล้วแตะที่ Device Details
       ขั้นตอนที่ 2 แตะที่ Notifications จากนั้นสามารถเลือกเปิดหรือปิดการแจ้งเตือนได้ ได้แก่ Alarm Notification, Doorbell Call และ Device offline

5.2 Arm Settings
       ขั้นตอนที่ 1 แตะที่ ที่หน้าแสดงอุปกรณ์แล้วแตะที่Device Details
       ขั้นตอนที่ 2 แตะที่ Arm Setting จะแสดงดังรูปภาพที่ 5.1

รูปที่ 5.1 Arm setting

ตารางที่ 5.1 ข้อมูล Arm setting

ParameterFunction
Motion Detectionการแจ้งเตือนจะทำงาน เมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ปรากฏขึ้นและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกินค่าความไวที่ตั้งไว้
Detection
Sensitivity
คุณสามารถตั้งค่าความไวในการตรวจจับได้ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ยิ่งค่ามากยิ่งมีการตรวจจับได้ไวยิ่งขึ้น
Detection Region
Setting
คุณสามารถตั้งค่ากลับกัน ลบหรือล้างพื้นที่การตรวจจับตามที่คุณต้องการภายใต้โหมดการตรวจจับความเคลื่อนไหว
   - แตะที่ Eraser เพื่อล้างพื้นที่ที่ไม่ต้องการตรวจจับด้วยตัวเอง
   - แตะที่ Invert เพื่อกลับกัน ของพื้นที่ตรวจจับ
   - แตะที่ Clear เพื่อล้างพื้นที่การตรวจจับ
Arm Schedule
Setting
คุณสามารถกำหนดตารางการทำงานของการตรวจจับความเคลื่อนไหว
Smart Tracking

ถ้าฟังก์ชันนี้เปิด เมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ผ่าน กล้องจะทำการหมุนตามวัตถุจนกว่ากล้องจะมองไม่เห็น

 ฟังก์ชันนี้ไม่รองรับทุกรุ่น

5.3 Smart Tour
 ฟังก์ชันนี้ไม่รองรับทุกรุ่น
       ขั้นตอนที่ 1 แตะที่ ... หน้าแสดงอุปกรณ์ แล้วแตะที่ Device Details
       ขั้นตอนที่ 2 แตะที่ Smart Tour จะแสดงดังนี้
       - Panoramic Tour: หมุนรอบ 360 องศา ตามระยะเวลาที่คุณกำหนด
       - Favorites Tour: ทัวร์ไปยังจุดที่กำหนดไว้ ในระยะเวลาที่กำหนด

 หากต้องการเปิดใช้งาน Favorites Tour คุณควรเข้าหน้าแสดงภาพสดของอุปกรณ์นั้น แล้วแตะที่ และแตะที่ เพื่อเก็บจุดที่ต้องการอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้